TMC
บริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

สรุปงบการเงิน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2567

สรุป OPPDAY

TMC โชว์ผลงานปี 2567: พัฒนานวัตกรรม, ขยายตลาด, ใส่ใจสังคม

สวัสดีครับ ผม ดร. ยศกร บบไถ่ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท TMC อุตสาหกรรม จำกัด มหาชน

สวัสดีค่ะ ดิฉัน กัลตินันท์ เรืองจันทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินค่ะ

วันนี้ทางบริษัทมีความยินดีที่จะนำเสนอผลประกอบการประจำปี 2567 ซึ่งประกอบไปด้วย:

  1. Company Overview
  2. Business Update Project Progress
  3. Financial Performance
  4. Business Outlook

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของบริษัท

เมื่อปี 2515 บริษัท TMC ได้ใช้ชื่อว่า ทวีมิตรการช่าง โดยผลิตเครื่องจักรกลขนาดเล็กเพื่อซัพพอร์ตอุตสาหกรรมที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ต่างๆ สร้างเครื่องเพรสเล็ก อุปกรณ์ และงานซ่อมต่างๆ

เมื่อปี 2525 ทิศทางของอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น หรือมีนัยยะสำคัญของการเติบโตในภาคเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์, โลจิสติกส์, การขนส่ง และการซ่อมบำรุง บริษัทได้จดทะเบียนในนามบริษัท TMC อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกล โดยเฉพาะ Mobile Crane ที่ใช้ชื่อแบรนด์ TMC และเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิก เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขึ้นรูป, ยานยนต์, Consumer Product เช่น หม้อหุงข้าว, แอร์, ตู้เย็น จุดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาเครื่องจักรของบริษัท

ปี 2547 มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและ disruption ต้องการให้ผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น บริษัทได้พัฒนาเครื่องจักรกล (เครื่องเพรสหรือ Mobile Crane) ให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น Material Handling, Robot, AGV, RGV และผ่านโปรแกรม Master ในการควบคุมเครื่องจักรกล คิดและพัฒนาเครื่องจักร (เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิก) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในขณะนั้นเป็นระบบ Automation เพื่อให้เกิดมูลค่าในการทำงานของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า Cyber Physical Production System

ปี 2555 วันที่ 26 ตุลาคม ได้เทรดเข้าตลาดหลักทรัพย์ในส่วนของตลาดใหม่ MAI

ปี 2562 ถือว่าเป็นนิมิตหมายและการเปลี่ยนแปลงของบริษัทอีกส่วนหนึ่ง ที่เราได้มีการก้าวสู่ในส่วนของกลุ่มทางด้านของภาคการเกษตร และได้รับโอกาสจาก TMC and Son และบริษัท มิตรผล ในการออกแบบรถต้นแบบ Tuga Tipping Crane Binteller เป็นรถที่ต่อพ่วงกับรถไถและรับอ้อยจากรถ Harvester หรือรถตัดอ้อย เป็นจุดเริ่มต้นของ TMC อุตสาหกรรม จำกัด และ CMP and Son ร่วมกันพัฒนา ปัจจุบัน Suga Tipping Crane Binteller ได้ผลิตไปแล้วประมาณ 100 กว่าคัน (ถึงปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งปี 2567 เองได้ผลิตทั้งหมด 28 ยูนิต) จัดส่งให้ด่านช้าง, กาฬสินธุ์, และมิตรภูเขียว ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเพื่อสร้างความได้เปรียบและสร้างโอกาสในการบรรทุกอ้อยให้ได้มากยิ่งขึ้น

จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตกระบอกทรงกรวยที่เป็นระบบอัตโนมัติ ทางเรามองว่าหลังจากที่สร้างระบบเครื่องจักรกลที่เป็น Smart ทางด้านของ Automation แล้ว สามารถที่จะทำการออกแบบและผลิตที่เป็น Smart Manufacturing แบ่งส่วนของการออกแบบออกไปเป็น 2 ส่วนด้วยกัน:

  1. การควบคุม Supply Chain ด้านสินค้าขาเข้า
  2. Inventory และสินค้าขาออกผ่านระบบการทำงานที่เป็นระบบ Automation

การออกแบบในครั้งนั้น การจัดเก็บ ใช้ระบบตัว ASRS การลำเลียง การขนส่งที่ไปลิงก์กับระบบ Line การผลิต ใช้ระบบ RGB ในการดำเนินงาน และผ่านระบบ Scada ในการควบคุมจากห้อง Control ออกแบบระบบการผลิตให้เครื่องจักรมีการเชื่อมโยงระบบ Machine to Machine และใช้ระบบตัว System Indicator ในการตรวจสอบทางด้านของชิ้นส่วน เนื่องจากการออกแบบและนำเครื่องจักรกับการใช้งานเพื่อให้พนักงานที่อยู่ใน Line การผลิตนั้นสัมผัสงานน้อยที่สุด เนื่องจากชิ้นงานมีน้ำหนักค่อนข้างมาก (ประมาณเกือบ 30 กิโลกรัม และมีความร้อนประมาณ 800-900 องศา) เงื่อนไขในการทำงานต่างๆ เราได้ใช้ทางด้านของระบบการทำงานที่เป็นระบบ Automation และทางด้านของตัว Camera ในการตรวจสอบ ทำให้เรามีการเชื่อมโยงระบบ Warehouse Automation และมีการเชื่อมโยงระบบทางด้านของ Line การผลิตผ่านระบบ Scada ทำให้เราได้มีการควบคุมกระบวนการ และสามารถทวนสอบได้ว่าในกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอนนั้น Line การผลิตผลิตชิ้นงานออกไปแล้วทั้งหมดเท่าไหร่ และได้ของดีเท่าไหร่ ได้ของเสียเท่าไหร่ เราสามารถที่จะทำให้มีการ Monitor ในระบบการผลิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในครั้งนั้นเราได้มีการร่วมมือกับทางด้านของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านของเทคนิคการทำ Hot Forging ขึ้นรูป เข้ามาเป็นที่ปรึกษา และเป็น Third Party ในการ Qualify ทางด้านของผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะมีการส่งมอบ Product ให้กับทางด้านของลูกค้า

ปี 2564-2566 ทางบริษัทได้มีการออกแบบและผลิตเครื่องต้นแบบ เครื่องอัดยาง 80 ตัน ร่วมมือกับทางลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันตั้งแต่ปี 64 ที่ผ่านมา ได้ผลิตไปแล้วประมาณ 53 เครื่อง และในปี 2568 ในปีนี้ เราก็มีได้รับความไว้ใจจากลูกค้าให้มีการผลิตและออกแบบเครื่องจักรในส่วนของเครื่องอัดยาง 80 ตัน เพิ่มเติม ในส่วนนี้การออกแบบและการผลิตทางด้านของลูกค้านี่จะมีเครื่องจักรทางด้านของตัว Dry Waste แล้วก็ในส่วนของ Line การผลิตที่มีการอบแห้ง อบขึ้นรูปร้อนขึ้นมา แล้วก็ส่งต่อให้กับทางด้านของระบบการผลิตเครื่องจักรของบริษัท TMC แล้วก็ส่งต่อในส่วนของระบบ Line Packing

TMC ได้มีการออกแบบเครื่องอัดยางที่มีการเชื่อมโยงระหว่าง Line การผลิตก่อนหน้า และ Line การผลิตเพื่อที่จะส่งไป Packing ทำให้ระบบการผลิตของลูกค้ามีความต่อเนื่อง และเป็น Line ระบบ Automation ซึ่งในส่วนการออกแบบและการพัฒนา ทางบริษัทเองก็ได้มีการคิดค้นและพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเราก็ได้มีการประสานงาน และประสานงานกับทางด้านของลูกค้าที่มีความสนใจทางด้านของการทำยางอัดก้อน ยางถ้วย เพื่อนำมาอัดก้อน ซึ่งส่งขายเป็นยางแท่งต่อไป

ในลำดับถัดมาได้มีการร่วมมือกับทางด้านของ กทม. ในการออกแบบและผลิตโครงการสะพานโครงสร้างเหล็กย่านกะดีจีน ในส่วนของการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างเหล็ก ทางบริษัทเองได้ใช้ความรู้ความสามารถใน 3 หลักเกณฑ์อยู่ด้วยกัน:

  1. การออกแบบทางด้านของ Machinery ที่เป็นลักษณะของโครงสร้างที่มีการออกแบบ มีการคำนวณ และมีการใช้ Third Party ในส่วนของโปรแกรมมาช่วยในเรื่องของการ Qualify ในการดำเนินงาน
  2. ด้วยความรู้ความสามารถของบริษัท ได้มีการออกแบบระบบทางด้านของระบบ Hydraulic เพื่อที่จะใช้ในการยกสะพาน ซึ่งในครั้งนั้นเราได้มีการจัดทำสะพาน 2 จุดด้วยกัน (จุดแรกสะพานกว้างประมาณ 12 เมตร และระยะห่างของสะพานทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 6 เมตร เพื่อที่จะให้ทางด้านของเรือต่างๆ ลอดผ่าน)
  3. Design และยกสะพานขึ้นลงได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ในอีกชุดหนึ่งที่ได้มีการออกแบบ (สะพานยาว 24 เมตร) ออกแบบสะพานข้างหนึ่ง ข้างละประมาณ 12 เมตร ใช้ระบบในการควบคุมผ่านระบบไฮดรอลิกในการยกขึ้น ซึ่งทั้ง 2 สะพานตัวนี้ ใช้ระบบ IoT ผ่านระบบการควบคุมระหว่างซ้ายกับขวา และโดยที่ไม่ได้ใช้ทางด้านของพนักงานเข้าไปดำเนินการในการกด หรือในการให้สะพานยกขึ้นยกลง แต่ว่าอีกส่วนหนึ่งระบบการทำงานต่างๆ เราก็ได้มีการออกแบบเพิ่มเติมให้กับทางด้านของลูกค้าทางด้านของการใช้ Manual เพื่อที่จะให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่าถ้ามีการขัดข้อง ณ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ระบบ Manual ต่างๆ ก็ยังสามารถที่จะนำกลับมาใช้งานได้เป็นอย่างดี

ศักยภาพและความรู้ความสามารถ ทางด้านของงานโครงสร้าง, งานระบบไฮดรอลิก และการเชื่อมโยงระบบ IoT เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้เกิดความง่าย และความสะดวก และก็มีความปลอดภัยของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ในลำดับถัดมา เราได้มีการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรรีไซเคิล โดยร่วมมือกับทางด้านของบริษัท Kayama Kougei Corporation แห่งประเทศญี่ปุ่น และสวรรค์ EMC จาก สปป.ลาว ในการออกแบบและการพัฒนาการในครั้งนี้ ได้มีการต่อยอดจากการที่เราได้มีการออกแบบ Line การผลิตโดยการจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากชุมชนมาทำการพัฒนาและการออกแบบ ได้มีการพัฒนาและออกแบบโดยการนำวัสดุจากอุตสาหกรรมและวัสดุทางด้านของภาคบริการ มาทำการแปรสภาพให้เป็น RDF2 และก็เป็น RDF3 เพื่อเข้าสู่กระบวนการของโรงงานไฟฟ้า ที่ประเทศ สปป.ลาว ซึ่งทางเราก็ได้มีการผลิตและติดตั้ง แล้วก็ได้ส่งมอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในปัจจุบันเราได้มีการพูดคุยในการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรเพิ่มเติมสำหรับเพื่อที่จะขยายไปในจุดต่างๆ สำหรับในส่วนของ สปป.ลาว

ปี 2567 ทางบริษัทได้ร่วมมือทางวิชาการในส่วนของโครงการการพัฒนาตามขั้นตอนของการแปรสภาพวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร เป็นลักษณะของเชื้อเพลิงในรูปแบบ BCG ซึ่งในครั้งนี้เราได้มีการจัดทำด้วยกันทั้งสิ้น 3 โครงการด้วยกัน:

  1. การผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติก
  2. จากทางด้านของน้ำมันไฮดรอลิก และก็น้ำมันเครื่อง และก็ทางด้านของน้ำมันพืช
  3. ผลิตเตาเพื่อผลิตไบโอชาร์ ขนาด 600 กิโลกรัม
  4. ผลิตเครื่องต้นแบบ ในส่วนของเครื่องย่อย
  5. ผลิตเครื่องที่เป็นตัวผลิตอักแท่ง และก็เครื่อง Wood Pellet หรือว่าทางด้านของการอัดก้อน

ในลำดับถัดมา เราได้มีการบันทึกข้อตกลงทางด้านของการซ่อมและการบริการในการดูแลทางด้านเครื่องจักรที่เป็น Wood Pellet Fuel และก็ทางด้านของ Briquette Fuel ร่วมกับบริษัท ทัพษาวร ไบโอแมส และก็ ณ และศูนย์บริการเชื้อเพลิง แห่งจุฬาลงกรณ์ที่จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567

ผลิตภัณฑ์และบริการ

ผลิตภัณฑ์และบริการในส่วนของบริษัท TMC เราแยกการดำเนินการออกไปเป็น 3 ส่วนด้วยกัน:

  1. สินค้า: เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิก ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรของเครื่องเพรส สร้างระบบ Automation เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง และมีการเชื่อมโยงระบบทางด้านของตัว System Indicator ต่างๆ เพื่อใช้ในเรื่องของการวางแผนระบบการซ่อมบำรุง และก็เชื่อมโยงระบบทางด้านของโปรแกรม ERP เพื่อให้ทางด้านของหน่วยงานผลิตสามารถเชื่อมโยงกับระบบการผลิต ระบบการซ่อมบำรุงในส่วนของเครื่องเพรส ระบบการซ่อมบำรุงในส่วนของตัวแม่พิมพ์ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่คุ้มค่ามากที่สุด หรือสร้าง Value ในการทำงานได้อย่างคุ้มค่า ปัจจุบันเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิก TMC ได้มีการพัฒนาทางด้านของเครื่องจักรกล โดยสร้างเครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมมือกับทางด้านของบริษัท Yaskawa ในการผลิตเครื่องเพรส จากการเริ่มต้นเราใช้ในส่วนของ Induction Motor แล้วก็เรามาพัฒนาในส่วนของการใช้ Inverter Motor แล้วก็หลังจากที่เราได้มีการร่วมมือกัน ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบในส่วนของ Servo Motor ซึ่งในส่วนนี้จะมองว่าทางด้านของการใช้งานเนี่ยทางด้านของเครื่องเพรสเองพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด
  2. Hydraulic Crane: บริษัท TMC อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ได้มีการคิดค้นและออกแบบ และพัฒนาเครนของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เช่น เครนแขนตรงที่เป็น Telescopic ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย (อุตสาหกรรมก่อสร้าง การเคลื่อนย้าย การ Movement ต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งเครนแขนพับที่ใช้ติดรถ เพื่อใช้งานทางด้านของการใช้งานทั่วไป การตัดกิ่งไม้ การบริการ แล้วก็งานขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสาเข็ม งานแผ่นพื้น หรือแม้แต่กระทั่งทาง ในส่วนของการคีบเศษเหล็ก) เพื่อที่จะขึ้นรถในกลุ่มของ Hooklift และก็อีกส่วนหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในส่วนของตัว Telescopic ทางด้านของตัว Knuckle Crane ที่เราเรียกว่าเป็นเครนติดฐาน ซึ่งในเครนติดฐานในส่วนนี้บริษัทเองก็ได้มีการพัฒนาออกไปเป็น 2 โมเดลด้วยกัน (โมเดลที่ 1 ก็จะเป็นทางด้านเครนที่ใช้เฟืองสกรู หรือที่เราเรียกว่าเป็น Rack pinion เป็นฟันเฟือง หมุนได้ 440 องศา แล้วก็หมุนกลับมา และก็อีกส่วนหนึ่งเราได้มีการใช้ระบบของมอเตอร์ Rotary ที่สามารถหมุน 360 องศา ซึ่งส่วนนี้เองเราได้มีการคิดค้น แล้วก็พัฒนา) เพื่อให้ตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้า
  3. Hydraulic Handling Equipment: ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้มีการผลิต คิดค้นมาตั้งแต่เริ่มต้น ปัจจุบันเราได้มีการเพิ่มเติมทางด้านของการศึกษา และก็การพัฒนาทางด้านของระบบ AGV และก็ RGV รวมถึง AMR เพื่อมาใช้ในการ Movement และการเคลื่อนย้าย ซึ่งในส่วนหนึ่งก็อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาการปรับปรุง เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายในส่วนของกระบวนการของลูกค้าเนี่ยให้มี Supply Chain ในการทำงานเนี่ยสั้นมากที่สุด เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เราได้มีการวิจัยและพัฒนา แล้วก็นำไปสู่ในกระบวนการของการผลิตเพื่อจำหน่าย ก็คือทางด้านของตัวเตา Biochar ขนาด 0.2Q และขนาด 1Q จุดเด่นของเตา Biochar คือ:

  1. ประหยัดทางด้านของพลังงานที่ใช้ เมื่อเทียบกับสัดส่วน
  2. Biochar ที่ได้มา จะทำให้ Fix คาร์บอนเนี่ยมากกว่า 60% (ถ้าเกิด Fix คาร์บอนยิ่งมากเท่าไหร่ จะทำให้ถ่านที่เกิดขึ้นเนี่ยมีส่วนของคาร์บอนโดยสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น)
  3. ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมาใช้กับเตา Biochar ของบริษัท TMC เช่น ฟางข้าว, สังข้าวโพด, ไม้ไผ่, กะลามะพร้าว และก็ไม้ต่างๆ

เมื่อเราเทียบสัดส่วนแล้วทำให้การประหยัดการใช้พลังงานของลูกค้าเนี่ยได้เป็นอย่างมาก แล้วก็ส่วนของผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ออกมานั้นเนี่ยค่อนข้างที่จะมี Fix คาร์บอนที่สูง (เท่าที่เราวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วเรามี Fix คาร์บอนทั้งหมดประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ทุกๆ รายการ) แต่ว่าในส่วนของค่าความร้อน ก็อย่างที่ทราบกันว่าขึ้นอยู่กับค่า Identity หรือค่าความหนาแน่นของวัสดุ อย่างเช่น ข้าว อายุการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 3 เดือน ดังนั้นทางด้านของการให้ค่าความร้อนก็จะได้น้อยลง แต่ถ้าเกิดว่าทางด้านของไม้ หรือไม้ไผ่ ที่ระยะการเติบโตของเขาใช้เวลานาน ค่าความหนาแน่นตัวไม้มาก ในส่วนนั้นเนี่ยก็จะให้ค่าความร้อนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าความร้อนก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุที่เรามาทำทางด้านของ ในส่วนของตัวเตา Biochar

งานบริการ

ปัจจุบันเราได้มีการแยกงานบริการออกไปเป็น 2 ส่วนด้วยกัน:

  1. งานซ่อมและงานบริการ
  2. งาน Metal Fabric หรือทางด้านของ Metal Machining ในงานโลหะการต่างๆ (บริษัทมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เป็นเครื่องระบบของ CNC และสามารถที่จะ Copy หรือ Machine ที่มีหน้าโต๊ะกว้างประมาณ 6 เมตร x 3 เมตร ที่เป็นขนาดใหญ่ และก็สามารถให้บริการไม่ว่าจะเป็นงานตัดแก๊ส CNC ด้วยระบบ Laser การตัดแก๊สด้วยระบบตัว Plasma ต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งในส่วนของงานเชื่อม งาน Fabrication ต่างๆ)

ทางเราก็สามารถบริการให้กับทางด้านของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาการที่สำคัญ

ทางบริษัทได้พัฒนาการตั้งแต่เริ่มต้นการเปลี่ยนระบบการกด การทำงานที่เป็นปุ่ม มาควบคุมเครื่องจักรที่เป็น PLC ที่ควบคุมด้วยเครื่องจักรของตัวเอง สามารถออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลให้ทำงานภายใต้ตัวเองได้ การขึ้น การลง การวางระบบ การทำเรื่องของ Safety Device แต่หลังจากที่เราได้มีการพัฒนาตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา เราได้มีการเชื่อมโยงทางด้านของเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอก ทำให้เครื่องจักร อ่านและเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น หมายความว่าเครื่องจักรต่อเครื่องสามารถอ่านได้ ระหว่างเครื่องจักรต่อเครื่องจักร และกับอุปกรณ์ภายนอกก็สามารถเชื่อมโยงได้ (เครื่องจักรเครื่องที่ 1 เชื่อมโยงกับ Robot แล้วก็เชื่อมจัก และเชื่อมโยงกับเครื่องจักร เครื่องที่ 2 รวมทั้งการสร้างระบบ Safety Device ต่างๆ ให้กับทางด้านของเครื่องจักร ผ่านโปรแกรม Master ที่ใช้ในการควบคุม)

ทำให้เกิดทำงานเครื่องจักรของ ทำให้การทำงานของเครื่องจักรเป็นระบบ Automation มากยิ่งขึ้น นอก จากนั้นแล้วทางเราเองก็ได้มีการพัฒนาโดยการเชื่อมโยงระบบ IoT ทำให้เครื่องจักรที่ทำงานเกิดเป็นระบบ Smart Manufacturing ไม่ว่าจะเป็นผ่านระบบ Scada ต่างๆ หรือทางด้านของ Application อย่างที่เราได้จัดทำโครงการกระบอกทรงกรวย ซึ่งเรามีโครงการประมาณ 260 ล้าน ที่เราได้มีการส่งมอบ ซึ่งในส่วนโรงงานที่เราได้ดำเนินการไปนั้น เป็นโรงงานที่เป็น Smart Manufacturing ผ่านการควบคุมด้วยระบบ Scada

Green Product

การพัฒนา Green Product ด้วยวัตถุประสงค์และความแน่วแน่ของบริษัทเองว่าเราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลในประเทศไทย เราเองมีความรู้ความสามารถด้านโครงสร้าง เราเองมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี เราสามารถเครื่องจักรเพื่อที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกร หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้วให้ได้เกิด Value เพิ่ม ให้เกิดรายได้เพิ่มก่อนที่จะดำเนินการในการผลิตในขอบต่อไป อันนี้คือเป้าหมายในส่วนที่ 1 ส่วนเป้าหมายในส่วนที่ 2 ก็คือว่าถ้าเกษตรกรสามารถ นำเครื่องจักรที่เรามีอยู่ และนำวัสดุเหลือทิ้งของภาคการเกษตรมาใช้ ก็จะทำให้ลดในการเผา และก็ลดฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดี

ปีที่ผ่านมา (2567) ที่เราได้มีการพัฒนาเครื่องจักรกล ในเรื่องของ Energy Saving อย่างที่เราได้เรียนไปเบื้องต้นว่าเราได้มีการพัฒนาทางด้านของการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็ในส่วนของการเชื่อมโยงและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ทางด้านของผลิตภัณฑ์ของเรานั้นเนี่ยสร้าง Value แล้วก็ตัด Supply Chain บางส่วนที่ไม่ได้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้ลูกค้าเนี่ยมี Value ในการทำงานมากยิ่งขึ้น

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ปี 2567 เราได้มีการปรับปรุงในส่วนของกระบวนการ บริษัท TMC ประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกัน:

  1. Firm Infrastructure (ในกระบวนการบริหารจัดการหลังบ้านทั้งหมด ได้มีการปรับปรุงทางด้านของระบบ ERP ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยสร้างรูปแบบ การปรับปรุงของ ERP ให้มีการเชื่อมโยงครอบคลุมทุกหน่วยงาน และก็เชื่อมโยงด้วยระบบทางด้านของการทำ Report ผ่าน E ทางด้านของ E Approve ต่างๆ เพื่อลดทางด้านของการ เพื่อลดเรื่องของ Supply Chain ความล่าช้าในการรอคอย แล้วก็ลดทางด้านของการใช้ทรัพยากรที่ไม่ได้จำเป็น)
  2. ระบบการผลิตภายในโรงงาน (ผ่านระบบ Lean Manufacturing ซึ่งในส่วนนี้ ในส่วนของ Lean Manufacturing เนี่ยเราได้มีการลด Supply Chain ในบางส่วน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารการจัดการ และก็ลด Supply Chain บางส่วน โดยการที่เราพัฒนาเครื่องจักรกลของเราเนี่ยให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่าในส่วนของ การดำเนินงานของบริษัททางด้านของระบบการผลิต ซึ่งเป้าหมายในอนาคตจากการที่เรามองไปข้างหน้า เรามองว่าโรงงานของบริษัท TMC เนี่ยจะต้องวางคาแรคเตอร์ของตัวเองเนี่ยที่เป็นโรงงานระบบ Automation เป็นโรงงานที่เป็น Smart และจะเป็นโรงงานต้นแบบให้ผู้ประกอบการเมื่อเข้ามามอง ภาพในบริษัท TMC จะเห็นว่า TMC มีความสอดคล้องระบบการผลิตและสินค้าที่ส่ง ให้ส่งต่อให้กับทางด้านของลูกค้า)
  3. การปรับปรุงระบบทางด้านของการบริหารการจัดการในส่วนของโครงสร้างองค์กร เพื่อให้การบริหารการจัดการโครงสร้างองค์กรเนี่ยสร้าง Value Positioning ให้กับทางด้านของลูกค้า ส่งตามเป้าหมายมากที่สุด นั่นหมายความว่าการจัดองค์กรของเราเนี่ย เราตัด Supply Chain ที่จะต้องผ่านระบบ A to Z ให้เหลือ A กับ B ให้มากที่สุด แล้วก็ได้มีการแยกในส่วนของ หน่วยงานซ่อมและบริการ มาเป็นหน่วยงานพิเศษ เพื่อให้การบริการของลูกค้าหลังจากที่เรามีการส่งมอบ หรือลูกค้าที่มีความต้องการทางด้านของบริษัท TMC ให้เข้าไปช่วยเหลือในการดูแลเครื่องจักรเพื่อให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกส่วนหนึ่งเราสามารถที่จะนำข้อมูลที่ได้มาบริหารจัดการเรื่องของผลประกอบการในส่วนของงานซ่อมและงานบริการ ซึ่งเรามองว่าจากนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้างงานซ่อมและงานบริการยังมีความต้องการ และต้องการที่จะ ต้องการคนที่อยู่ภายในประเทศไทย และมีความพร้อมทางด้านของ Facility ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร บุคลากร แล้วก็ทางด้านของ การสื่อสาร ที่รวดเร็ว และการซ่อมบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งในส่วนนี้เองก็จะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าทางด้านของลูกค้าเนี่ย มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามองเป้าหมายว่าเราจะเป็นหนึ่งในการให้บริการที่สร้าง Value ให้กับทางด้านของลูกค้า

มาตรฐานระดับสากล

ทางด้านของบริษัท TMC เมื่อปี 2566 ทางบริษัทได้มาตรฐานระดับสากลอยู่ในระดับ 5 ดาว และเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา ของเราเองได้รับการประเมินจาก IOD อยู่ที่ระดับ 3 ดาว ซึ่งในส่วนนี้ ทางเราเองได้มีการทวนสอบในเรื่องของข้อมูลต่างๆ เราพบว่า ในการปฏิบัติงานของบริษัทนั้นเนี่ยบางส่วนร้อยละ 90 ทางบริษัทได้มีการดำเนินการ แต่ว่าการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์อาจจะไม่ได้ทั่วถึง ซึ่งเรามองว่าในส่วนของหมวด B ในหมวด B นะครับ ซึ่งเรา ที่เราได้คะแนนอยู่ที่ประมาณ 77 เนี่ยเรา ได้มีการปรับปรุง และก็มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับ ในปีที่ผ่านมาแล้วก็ปีนี้ และก็ในส่วนของหมวด D นะครับที่เรา มีคะแนนที่ ลดหลั่นลงมานะครับ ใน 2 ส่วนที่เกิดขึ้นนะครับ ทางเราได้มีการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร แล้วก็จัดทำเอกสารและข้อมูลรวมถึงการสื่อสารต่างๆ ให้มีความสอดคล้อง ตามมาตรฐาน เหนือสิ่งอื่นใดนะครับอยากให้ทางด้านของผู้ประกอบการ ผู้ถือหุ้น ผู้ที่มีความสนใจ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับทางด้านของบริษัท TMC เพิ่มเติม

มาตรฐานระดับสากล ทางเราเองได้ ISO 9001 เวอร์ชั่น 2015 และ ISO 14001 2015 ซึ่งเราประมาณการว่าเราน่าจะได้รับ Certificate ในปี 2568 ประมาณไตรมาสที่ 3 เหตุผลที่เรามีการขยายในส่วนของเวลาเนื่องจากว่า ทางเราเนี่ยติดประเด็นปัญหาเรื่องงานก่อสร้างบางส่วนคืองานโครงสร้าง Structure นะครับเนื่องจากว่าโรงงานต้องมีการปรับปรุงทางด้านของพื้นที่หลายส่วนทำให้มี ทำให้ระยะเวลาเนี่ยต้องมีการขยายออกไป แล้วก็ทางด้าน Award ที่เราได้มีการเพิ่มเติมนะครับคือเรื่องของการอนุรักษ์พลังงาน แล้วก็ทางด้านของโรงงานสีขาวจากจังหวัดชลบุรี

ขอขอบคุณ ดร. ยศกร ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Company Overview นะคะ ต่อลำดับต่อไปก็จะนำเสนอในเรื่องของ Sale Revenue by Product กันนะคะ

ในปี 2564 รายได้รวมของบริษัทจะอยู่ที่ 260.94 ล้านบาท แบ่งออกเป็นรายได้จากการขายสินค้าอยู่ที่ 207.89 ล้านบาท และรายได้จากการบริการอยู่ที่ 53 ล้านบาท ส่วนของ 2 ปี 2523 รายได้รวมจะอยู่ที่ 326.61 ล้านบาท แบ่งออกเป็นรายได้จากการขายสินค้าอยู่ที่ 262.93 ล้านบาท และเป็นรายได้จากการบริการอยู่ที่ 63.68 ล้านบาท

ในส่วนของรายได้ตามผลิตภัณฑ์ของบริษัท:

  1. รายได้จากเครื่องเพรส (ปี 2567 จะอยู่ที่ 36.75 ล้านบาท, ปี 2566 จะอยู่ที่ 33.77 ล้านบาท)
  2. รายได้จากเครน (ปี 2567 จะอยู่ที่ 150 ล้านบาท, ปี 2566 จะอยู่ที่ 114.56 ล้านบาท)
  3. รายได้จากเครื่องทุ่นแรง (ปี 2567 จะอยู่ที่ 15.92 ล้านบาท, ปี 2566 จะอยู่ที่ 90 ล้านบาท)
  4. รายได้จากงานโปรเจค (ปี 2566 อยู่ที่ 13.44 ล้านบาท)
  5. งานบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (ปี 2567 จะอยู่ที่ 37.90 ล้านบาท, ปี 2566 จะอยู่ที่ 48.62 ล้านบาท)
  6. แปรสภาพโลหะด้วยเครื่องจักร (ปี 2567 และ 2566 รายได้จะอยู่ที่ 15 ล้านบาท)

ในส่วนของ Profit and Loss รายได้ของปี 2567 รวมจะอยู่ที่ 274 ล้านบาท และปี 2566 จะอยู่ที่ 339 ล้านบาท ในส่วนของต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย ปี 2567 จะอยู่ที่ 290 ล้านบาท และปี 2566 จะอยู่ที่ 321.74 ล้านบาท กำไรขาดทุนก่อนภาษี ปี 2567 ติดลบอยู่ที่ 16 ล้านบาท และปี 2566 จะอยู่ที่ เป็นบวก 17.43 ล้านบาท Gross Profit Margin ปี 2567 จะอยู่ที่ 17.95% และปี 2566 จะอยู่ที่ 18.51%

Balance Sheet Overview:

  1. Asset รวม อยู่ที่ 682.29 ล้านบาท
  2. Equity อยู่ที่ 608.71 ล้านบาท
  3. Liability จะอยู่ที่ 73.59 ล้านบาท

Asset แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สินทรัพย์หมุนเวียน (491 ล้านบาท) และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (191 ล้านบาท) สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบไปด้วย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (354.95 ล้านบาท คิดเป็น 57%) สินค้าคงเหลือสุทธิ (89 ล้านบาท คิดเป็น 13%) ในส่วนของรายละเอียดของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบไปด้วย ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (132 ล้านบาท คิดเป็น 19%) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (39 ล้านบาท คิดเป็น 5.75%)

Liability ประกอบไปด้วย หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียนจะอยู่ที่ 45 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (41.91 ล้านบาท คิดเป็น 56.95%) หนี้สินไม่หมุนเวียนประกอบไปด้วย หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (28 ล้านบาท คิดเป็น 38.44%) Equity (608.7 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ทุนจดทะเบียน 458.77 คิดเป็น 75.37% และกำไรสะสมจะอยู่ที่ 142.80 ล้านบาท คิดเป็น 23.46%)

Financial Ratio:

  1. Current Ratio (ปี 2567 จะอยู่ที่ 10.89 เท่า, ปี 2566 จะอยู่ที่ 7.87 เท่า)
  2. Return on Equity (ปี 2567 จะติดลบอยู่ที่ 2.63%, ปี 2566 จะเป็นบวกอยู่ที่ 2.43%)
  3. Debt to Equity Ratio (ปี 2567 จะอยู่ที่ 0.12 เท่า, ปี 2566 จะอยู่ ที่ 0.19 เท่า)

Business Outlook

ที่ผ่านมาสำหรับปี 2567 ผมก็ได้มีการนำเสนอแล้วก็พรีเซนต์มาอย่างต่อเนื่องว่า TMC ได้มีการพัฒนา แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนบ้าง ซึ่งเรามองว่านวัตกรรมเท่านั้นที่เราสามารถที่จะแข่งขันได้ ในส่วนที่เป็นทางด้านของการขายและการตลาด แต่ อีกส่วนหนึ่งเรามองว่านอกจากนวัตกรรมนั้นเราก็จะมีทางด้านของการพัฒนาภายใน เพื่อให้เกิดการแข่งขันแล้วก็การทำเป็นแบบอย่าง ในส่วนของการพัฒนา (ระบบ Lean, การดำเนินงานให้มี Supply Chain ที่ สั้นลง)

ปี 2568 เราจะนำเสนอว่าในปีเนี้ย ตั้งแต่ที่เราวางนโยบายเป้าหมายจากปีที่แล้วเนี่ยปีเนี้ย เรามีอะไรบ้างที่มีการพัฒนาเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทางด้านของนักลงทุน หรือว่าผู้สนใจ ที่จะเข้ามาเยี่ยมชมเนี่ยก็สามารถที่จะขอข้อมูลได้ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งผมก็จะนำมานำเสนอทุกๆ ไตรมาส ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา ผมมองว่าการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม (ทางด้านของ Disruption, Climate Change หรือทางด้านของตัว Crisis ต่างๆ) ซึ่งส่วนนั้นถ้าเรามองเป็นโอกาส ในส่วนของบริษัทเราถือว่าค่อนข้างที่จะสร้างโอกาสให้กับทางบริษัท เนื่องจากว่าเราเป็นบริษัทคนไทย แล้วก็สามารถผลิตเครื่องไม้เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อมารองรับการเปลี่ยนแปลง หรือมารองรับทางด้านของเอื้ออำนวยความสะดวก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทางด้านของ ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งทางด้านของ เรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นทางด้านของพลังงานเหลือทิ้งต่างๆ ซึ่งผมก็จะนำข้อมูลต่างๆ เนี่ยมาทำการอัปเดตเพิ่มเติม

เนื่องจากว่าบริษัท TMC ของเรา ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพที่แข็งแรงของคนไทย ให้ปราศจากโรค ก็เลยจัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นมา 1 บริษัทชื่อว่า บริษัท Pamera Being จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ก็เป็นธุรกิจเกี่ยวกับด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการดูแลสุขภาพให้ดีปราศจากโรค โดยเปิดตัวอย่างเป็นธรรม อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 ที่ชั้น G อาคาร เพลินจิต เซ็นเตอร์ สุขุมวิท สำหรับบริการของเราก็มีหลากหลายด้วยกัน (การ Dip วิตามิน วิตามินเพื่ออะไร, เรื่องของการ Detox, wellness Checkup)

ลำดับต่อไป Q&A มีคำถามด้วยกัน 3 คำถาม:

  1. ปีนี้ที่ขาดทุนจากโครงการคัดแยกขยะกับอู่ทองมีแนว มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อไป ต่อไปอย่างไรคะ
  2. กิจการคลินิกของบริษัทย่อยมีแนวโน้มจะเป็นอย่างไรบ้าง
  3. รายได้ปี 2567 ลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างเยอะ ในปี 68 จะมีงานโครงการเข้ามาอีกบ้างหรือไม่

[00:59:42] ในส่วนคำถามข้อที่ 1 ผมขออนุญาตแบ่งเป็น 2 ส่วนนะครับ ในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ส่วนหนึ่งที่ทางด้านของลูกค้าสามารถที่จะใช้งานได้นะครับซึ่งในปัจจุบันก็ เอ่อทางด้านของ เราเองก็ให้คำปรึกษาในการดูแลในการบริหารการจัดการเพื่อให้ลูกค้าได้คุณค่าสูงสุดนะครับส่วนเครื่องจักรที่ เอ่อไม่สอดคล้องกับทางด้านของตัววัตถุดิบนะครับทางบริษัทก็ได้นำมาพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเป็นสินค้าในลำดับต่อไปนะครับ ในส่วนของการบริหารการจัดการสำหรับการจัดทำโครงการนะครับสิ่งที่เรามีประสบการณ์ทำให้เราทราบว่า เอ่อวัตถุดิบที่ขาเข้านะครับจะไม่มีความเหมือนกันนั่นหมายความว่าแต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่แต่ละฤดูกาลเนี่ยที่มีวัตถุดิบในแต่ละช่วงจะไม่มีความสอดคล้องกับการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักร เราเองได้มีการวางแผนและกำหนดรูปแบบในการดำเนินงานโครงการที่จะต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่แล้วก็วิเคราะห์ในส่วนของวัตถุดิบขาเข้า แล้วก็หลังจากที่เราได้มีการวัตถุดิบขาเข้าแล้วนี่ก็มีการออกแบบทางด้านของงานวิศวกรรมโดยมองที่ความสามารถของการออกแบบความสามารถของการผลิตและการประหยัดพลังงานนะครับรวมถึงการใช้ระบบ IoT เข้าไปเกี่ยวข้องในส่วนของการพัฒนาซึ่งในส่วนนี้นะครับเราได้มีทีมงานแล้วก็มีทางด้านของผู้เชี่ยวชาญเนี่ยให้คำปรึกษาในการบริหารโครงการที่มีความซับซ้อนโดยเฉพาะทางด้านของการบริหารจัดการขยะจากชุมชนหรือการบริหารจัดการทางด้านของวัสดุเหลือทิ้งที่เป็น Line การผลิตที่เป็น continuous ครับ

[01:01:16] เนื่องจากว่าในปี 2567 บริษัทเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนะคะก็ยังเป็นเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจในส่วนของกำไรก็ยัง ยังน้อยอยู่นะคะแต่คาดว่าเป้าหมายในปี 2568 เนี่ยค่ะเราจะทำการตลาดเชิงรุกค่ะ โดยที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาแล้วก็เอ่อติดต่อลูกค้ารายเก่าแล้วก็ ติดต่อเข้า ติดต่อลูกค้ารายเก่าเพื่อที่จะให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องค่ะแล้วก็ผลิตภัณฑ์ใหม่ก็อย่างเช่นเอ่อเพิ่มในส่วนของนักกายภาพบำบัดเพื่อที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยที่เป็น Office Syndrome ที่เป็นโรครุ่นฮิตของชาวออฟฟิศในตอนนี้นะค่ะ

[01:02:06] ในส่วนของงานโครงการสำหรับปี 67/2568 นะครับทางเราเอง ณ ขณะนี้ก็ ได้มีการพัฒนาร่วมกับทางด้านของลูกค้าโดยเฉพาะทางด้านของการผลิตรถ Suga Tipping Binteller นะครับซึ่งเรามองว่าที่หลังจากที่ได้เข้าไปพบปะทางด้านของลูกค้าแล้วก็ทางด้านของชาวไร่ เอ่อบวกกับทางด้านของ เอ่อผลกระทบที่ทางด้านของนโยบายเนี่ยไม่ต้องการมีให้มีการเผานะครับในฤดูกาลหน้าก็คือในฤดูกาล2568/2569ซึ่งถือว่าส่วนเนี้ยก็จะเป็นโครงการของทางบริษัทแล้วก็จะเป็นโอกาสได้เป็นอย่างดีนะครับซึ่งผมก็จะนำข้อมูลมาทำการอัปเดต อีกส่วนหนึ่งทางด้านของเครื่องอัดยางนะครับนอก จากนอก จากที่เรามีเครื่องอัดยางที่เป็นรูปแบบกับทางด้านของลูกค้ารุ่นเดิมนะครับณปัจจุบันเราได้มีการขยายและก็มีการออกแบบเพิ่มเติมนะครับเพื่อรองรับอุตสาหกรรมในด้านของเครื่องอัดยางโดยเฉพาะทางด้านของอัดยางก้อนนะครับ ก็ มีรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ นะครับผมก็จะได้นำข้อมูลมาทำการอัปเดตในแต่ละรายละเอียดของงานต่อไปนะครับคำถามทั้งหมดมี 3 ข้อนะครับทางบริษัท TMC ได้มีการตอบคำถามครบถ้วนนะครับและต้องขอขอบคุณทางตลาดหลักทรัพย์แล้วก็พวกผู้ถือหุ้นเป็นอย่างสูงรวมทั้งผู้สนใจถ้าต้องการข้อมูลก็สามารถติดต่อได้ตาม เว็บไซต์ที่ทางบริษัทได้มีการนำเสนอไปครับขอบคุณครับ

สรุป

TMC โชว์ผลงานปี 2567 โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรม, ขยายตลาดในภาคการเกษตรและพลังงานทดแทน, และให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมผ่านการจัดตั้งบริษัทย่อยด้านสุขภาพ แม้ผลประกอบการปีนี้จะลดลง แต่บริษัทก็มีแผนที่จะปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต


Q&A Session เริ่มต้นที่นาทีที่ [00:59:42] คำถามและคำตอบ: 1. โครงการคัดแยกขยะกับอู่ทอง: * คำถาม: ปีนี้ที่ขาดทุนจากโครงการคัดแยกขยะกับอู่ทอง มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อไป * คำตอบ: แบ่งเป็นสองส่วน ส่วน