AMR
บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน)

สรุปงบการเงิน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2567

สรุป OPPDAY

AMR Asia Oppday สรุปผลประกอบการปี 2567 และทิศทางเติบโตในอนาคต

AMR เอเชีย จัดงาน Opportunity Day เพื่อรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 แผนธุรกิจ และทิศทางการเติบโตในอนาคต โดยมีผู้บริหารเข้าร่วมให้ข้อมูล ได้แก่ คุณพฤทธิพงศ์ ธาราภิมาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจ และคุณศิริรัตน์ จริยสกุลทอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบัญชีและการเงิน

ภาพรวมผลกระทบต่อธุรกิจ (Business Impact Overview)

บริษัท AMR เอเชีย ก่อตั้งในปี 1999 เริ่มต้นจากธุรกิจ System Integration (SI) และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไฮไลท์สำคัญ ได้แก่:

  1. ปี 2020: เติบโตจากธุรกิจ Transportation เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลืองชมพู รถไฟทางคู่ และงานระบบ Scada เรื่องน้ำ
  2. ปี 2021: จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และเริ่มลงทุนในธุรกิจ EV Bike (มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพร้อมตู้สลับแบตเตอรี่) ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจใหม่ "มาชาร์จ"
  3. ปี 2022: ขยายธุรกิจไปสู่ EV Solution ทั้ง EV Bike และ EV Charger สำหรับรถยนต์ รวมถึงธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงระบบสถานีไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  4. ปี 2023: ก่อตั้งบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 2 บริษัท ได้แก่ AS Macharge (บริการให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพร้อมสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่เกาะสมุย) และ UE Element (ธุรกิจส่งน้ำดิบให้กับนิคมอุตสาหกรรม) ซึ่งเป็น Recurring Business ให้กับบริษัท นอกจากนี้ยังมีโครงการระบบเครื่องจักร อ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติให้กรมการขนส่งทางบก และงานระบบสายสื่อสารลงดินของการไฟฟ้านครหลวง
  5. ปี 2024: มุ่งเน้นธุรกิจที่จะสร้างผลตอบแทนในระยะยาวมากขึ้น และเป็นเทรนด์ในเรื่องของ Green Energy และธุรกิจสีเขียว เช่น ธุรกิจการจัดการขยะชุมชนเพื่อมาทำเป็นพลังงานทางเลือก หรือการ Upcycle ตัวขยะที่มีมูลค่ามาต่อยอดให้เกิดธุรกิจใหม่ โดยจัดตั้งบริษัท Eco Phoenix ขึ้นมา และปรับทิศทางกลยุทธ์ในส่วนของธุรกิจ IT เดิมให้เจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเรื่องของ Cyber Security นอกจากนี้ยังจัดตั้งบริษัท Next Fusion เพื่อนำเทคโนโลยี AI ผนวกกับ IoT สร้าง Product และ Solution ให้กับกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง

โอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunities)

บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการเติบโตจากเทรนด์ของ Sustainable Growth, Climate Change, AI และ Automation โดยมีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจไปยัง:

  1. Infrastructure และ Green Transportation: โครงสร้างพื้นฐานของเมือง และโครงสร้างการขนส่งแบบอัจฉริยะและรักษ์โลก
  2. Smart System และ Digital Twin: นำเทคโนโลยีมาทำให้ระบบบริหารจัดการ Smart มากขึ้น และสร้างโลกเสมือน (Digital Twin) โดยใช้ AI เข้ามาช่วย
  3. Renewable Energy และ Green Environment: ธุรกิจโซลาร์ และการจัดการขยะเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก

ความเสี่ยงที่กำลังเผชิญ (Risks and Challenges)

ในช่วงปี 2024 บริษัทฯ มีรายได้ต่ำกว่าแผนที่มาจากงาน Backlog จำนวน 592 ล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น สาเหตุหลักมาจากอุปสรรคหน้างาน เช่น สิ่งกีดขวางที่ไม่ได้ปรากฏในแบบ และขอบเขตของงานในโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟใต้ดิน และแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีม่วง

วิธีการแก้ไขปัญหาผลกระทบ (Problem-Solving and Mitigation)

บริษัทฯ ได้รับการขยายสัญญา จึงไม่เกิดส่วนค่าปรับใด ๆ ในส่วนนี้ และปัจจุบันทั้งสองโครงการสามารถเข้าดำเนินการได้ตามปกติแล้ว คาดการณ์ว่าปีหน้าจะรับรู้รายได้อยู่ที่ 526 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณ โดยการรวมประเมินความเสี่ยงและการจัดแผนสำรอง เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลขาดทุนในโครงการต่าง ๆ

แนวโน้มและอนาคต (Outlook and Future Trends)

บริษัทฯ มุ่งเน้นการเติบโตใน 3 แกนหลัก ได้แก่ Infrastructure & Green Transportation, Smart System & Digital Twin, และ Renewable Energy & Green Environment โดยมีเป้าหมายยอดขายในปี 2025 อยู่ที่ 1,945 ล้านบาท และรับรู้รายได้ประมาณ 1,772 ล้านบาท คาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้น (GP) ประมาณ 17% บริษัทฯ ยังคงโฟกัสและมุ่งเน้นในธุรกิจเดิม พร้อมทั้งขยายไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและพลังงานทางเลือก

ช่วงถาม-ตอบ (Q&A Session) [เริ่ม Q&A นาทีที่ 45:18]

  1. คำถาม: AMR จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อจะล้างขาดทุนสะสมและกลับมาปันผลในปีนี้

    คำตอบ: บริษัทฯ รับทราบปัญหาขาดทุนสะสมและไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการแก้ไขปัญหาเชิง Quick Win เช่น การควบคุมต้นทุนให้ดีขึ้น รวมถึงพยายามหารายได้ชดเชยในส่วนของ Recurring Income เข้ามาชดเชยในงานโครงการที่อาจจะถูกเลื่อนไป คาดว่าปีนี้อาจจะมีโอกาสที่จะมีกำไรสะสมกลับเข้ามา

  2. คำถาม: โครงการสำคัญที่ AMR กำลังดำเนินการและโครงการใหม่ที่คาดว่าจะได้รับมีอะไรบ้าง

    คำตอบ: โครงการที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ งานสายสัญญาณลงใต้ดิน 896 ล้านบาท, งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมของรถไฟทางคู่อีก 115 ล้านบาท และงานบำรุงรักษาโครงการต่าง ๆ อีกประมาณ 140 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการที่นำเสนอราคาไป เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง, สายสีส้ม, รถไฟทางคู่ และโครงการด้าน FMS เพื่อเจาะตลาดใหม่ โดยมีเป้าหมายในการทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท รวมถึงโครงการ IT ที่คาดว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20% หรือประมาณ 50 ล้านบาท

  3. คำถาม: บริษัทมีแผนที่จะซื้อหุ้นคืนเพิ่มเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหรือไม่

    คำตอบ: บริษัทฯ พยายามเร่งการเติบโตของโครงการ จึงมีความจำเป็นในการใช้เงินทุนในการสร้างและหารายได้เพื่อให้เกิดกำไร แต่อาจจะกลับมาทบทวนอีกครั้งว่าสามารถมีโอกาสทำได้หรือไม่

  4. คำถาม: โครงการกำจัดขยะที่คาดว่าจะมีในปี 2568 จะมีรายได้รวมเป็นประมาณเท่าไหร่ มี Net Margin ประมาณเท่าไหร่

    คำตอบ: รายได้รวมจากโครงการกำจัดขยะของห้วยกระเจาและพัทลุงในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 90 ล้านบาท คาดว่า Margin จะอยู่ที่ประมาณ 5-6% สำหรับปีแรก

ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนที่ยังมีคำถามสามารถส่งคำถามมาได้ที่ ir@amrasia.com และทางบริษัทจะตอบคำถามให้