STECON
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)

สรุปงบการเงิน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2567

สรุป OPPDAY

STECON ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ที่ 32,000 ล้านบาท พร้อมลุยโปรเจคใหม่ 50,000 ล้านบาท

สวัสดีครับท่านนักลงทุนทุกท่าน วันนี้บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด มหาชน มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินและผลการดำเนินงานประจำปี 2567 โดยวันนี้เราจะพูดคุยกันใน 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ Target ปี 2568 กลยุทธ์ Key Development ในปีที่ผ่านมา และ Project Update งบการเงิน Performance รายไตรมาสและประจำปี และ Business Outlook ในปีนี้

Target ปี 2568

Stecon Group มี Mission 30 ซึ่งมาจากปี 2030 อีก 6-7 ปีข้างหน้า เราตั้งเป้าว่า Revenue ของเราจะเติบโตถึง 45,000 ล้านบาท ภายในปี 2030 และ ROE มากกว่า 10% ในส่วนของ ROE

สิ่งที่เราจะทำ ณ ขณะนี้ คือพยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจหลักของเรา ซึ่งก็คือธุรกิจก่อสร้าง สร้าง Ecosystem ให้เกิดขึ้น และลดต้นทุนโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็น AI หรือ Software ต่างๆ ที่สามารถลดต้นทุนหรือนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาปรับใช้

นอกจากนี้ เราจะ Shift to new business โดยหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาเติมใน Portfolio ของเรา ซึ่งตอนนี้เรามีธุรกิจใหม่มา 1 ธุรกิจแล้ว คือธุรกิจของน้ำประปา และบริษัทเองก็อยู่ในขั้นตอนที่ศึกษาในธุรกิจต่างๆ คงจะได้เห็นความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ๆ ภายในปีนี้

อีกกลยุทธ์หนึ่ง คือการใช้ Digital Tech Leadership โดยพยายามที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจและองค์กรของเรา โดยการนำเทคโนโลยีนำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ ซึ่งเราตั้งเป้าที่จะเป็นบริษัทที่เป็น Tech Lead Company พลัดจากภาพเดิมๆ ที่เป็นธุรกิจก่อสร้างแบบ Conservative โดยเราจะใช้ Digital Tech เข้ามาช่วย ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งพวกนี้ในต่างประเทศเขามีมาใช้มาสักพักแล้ว

อันนั้นเป็นกลยุทธ์ที่ทางบริษัทวางเป้าไว้

Key Development และ Project Update ในปีที่ผ่านมา

  • ช่วงต้นปี เป็นช่วงของการปรับโครงสร้าง บริษัทได้ยื่น Filing กับ Regulator ต่างๆ และปรับเปลี่ยนเป็น Holding
  • ในเดือนพฤษภาคม มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทลูกจาก ซิโน-ไทย โฮลดิ้ง เป็น Stec Venture ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็น Investment Arm ของ Stecon Group มีหน้าที่และพันธกิจที่จะไปหาธุรกิจใหม่ๆ ที่มีผลตอบแทนที่สูง ให้กับตัว Stecon Group ดีลต่างๆ จะเป็นทาง Stec Venture เป็นคนหามา
  • เรามีการร่วมมือกันกับ B.Grimm โดยมีการเซ็น MOU เพื่อที่จะร่วมมือในการศึกษาลงทุนนวัตกรรมต่างๆ กับทาง B.Grimm ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
  • ในเดือนสิงหาคม เราได้ประกาศว่าโครงการรัฐสภาได้ส่งมอบเรียบร้อย ให้กับทางเลขาธิการรัฐสภา ซึ่งโครงการนี้ไม่มีค่าปรับ ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว ทางภาครัฐเซ็นรับรองเรียบร้อย
  • ในเดือนตุลาคม จะมี 2 Event หลักๆ คือช่วงปลายเดือนวันที่ 29 จะเป็น First Day Trade ของ Stecon Group หลังจากที่เราปรับโครงสร้างเรียบร้อย ตัว ซิโน-ไทย ออกจากตลาดไป แล้วในวันเดียวกัน Stecon Group ก็เข้ามาเทรดโดยใช้ ทิกเกอร์ว่า STECON
  • วันที่ 31 ตุลาคม เรา Take M&A ตัว Mars Water Supply เข้ามาเป็นบริษัทย่อยของเรา โดยที่เราถือหุ้นอยู่ 51%
  • ในเดือนพฤศจิกายน มีการประกาศว่าทาง Stecon Group ได้ตัว CGR 5 ดาว ซึ่งเราได้มา 8 ปีติดต่อกันแล้ว สำหรับตัว CGR ทาง กทม. ในเดือนเดียวกัน กทม. เองก็ส่งจดหมายมาสำหรับโครงการบึงหนองบอน ว่าโครงการนี้ได้รับการต่อสัญญาสัมปทาน และขยายระยะเวลาการทำงาน ทำให้ไม่มีค่าปรับสำหรับโครงการนี้
  • ช่วงสิ้นปี ธันวาคม มีการประกาศตัว Set ESG Rating ตัว Stecon Group เองก็ได้เป็น Rating Double A ของกลุ่มก่อสร้าง ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของบริษัท
  • รถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง สิ้นปีทำ ridership ได้ดี โดยสายสีชมพู มี Average ridership ประมาณ 54,000-55,000 คนต่อวัน และ Highest ridership ที่ทำได้คือ 80,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ในช่วงปีแรกถือว่าทำได้ดี ในส่วนของสีเหลือง Average เที่ยว 38,000-40,000 ก็ถือว่าทำอยู่ในระดับที่ดี สำหรับสีเหลืองเอง มีโปรโมชั่นเริ่มต้นที่ 20 บาท ทำให้ ridership เพิ่มขึ้นมาด้วย

อันนี้เป็น Key Development ในปีที่ผ่านมาของทาง Stecon Group

Five Theme ในการลงทุน

  • Construction ที่เราทำอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ Conservative Construction เหมือนเดิม มันเป็น Tech Leads Construction ซึ่งเราใช้ AI เข้ามาช่วยในการเขียนแบบ หรือใช้ Software เข้ามาช่วยลดต้นทุน เป็น Tech Lead ในการทำธุรกิจก่อสร้างแบบรูป แบบใหม่
  • ธุรกิจพลังงานสะอาด (Clean Energy) ตอนนี้เรากำลัง Explore ในเรื่องของธุรกิจพลังงานสะอาดอยู่ คงจะได้เห็นความคืบหน้าเร็วๆ นี้
  • Digital Infrastructure ตอนนี้เรา Explore อยู่ในพวก Digital Infrastructure เหมือนกัน
  • Next Gen Water Management ก็คือธุรกิจน้ำ อย่างที่บอกไปว่าเรามีการ Take ตัว Mars Water Supply เข้ามา มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปแล้วในช่วงมกราคม Mars Water Supply มี 3 โรง 2 โรงเปิดไปแล้ว และอีกโรงน่าจะประมาณภายใน Q3
  • Logistics ก็คือธุรกิจขนส่ง หรือขนส่งเชิงพาณิชย์ต่างๆ UTA อยู่ในหมวดนั้น ตอนนี้มีข่าวว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในครึ่งปีแรก นอกจาก UTA เรายังมองในเรื่องของธุรกิจ Motorway โครงการ Motorway ต่างๆ ที่จะเปิดประมูลในอนาคต

Smart Water Supply

  • มีอยู่ 3 โรง โรงแรกคือโรงบางปู เปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตน้ำสูงสุดประมาณ 22,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
  • โรงลาดกระบัง เปิดถัดมาในเดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 26 คือ 14,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
  • โรงนครหลวง น่าจะเปิดได้ช่วง Q3 จะลงเล็กน้อยประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งธุรกิจน้ำตัว Return ค่อนข้างสูงเป็นหลัก Double Digit

ใน Peer หรือในอุตสาหกรรมเอง Margin GPM อยู่ประมาณ 70% พอ Return สุดท้ายมาถึง Bottom Line จะอยู่ประมาณ 30-40% ถือว่าเป็นธุรกิจที่ Cost ค่อนข้างต่ำ SGA to Sale เองก็ค่อนข้างน้อย ฉะนั้นถือว่าเป็น Recurring Income ที่ดีที่จะมาช่วย Bottom Line ของเรา

ภายในปี 2025 เราก็จะเริ่มเห็น Recurring Income เข้ามาแล้วสำหรับธุรกิจใหม่ๆ

Update โครงการ U-Tapao (อู่ตะเภา)

รอบที่แล้วนำเสนอในเรื่องของโครงสร้างของ UTA ว่ามีอะไรบ้าง รอบนี้ Update ให้ฟังว่าทาง EEC คุณจุฬาที่เป็นเลขาธิการ EEC ได้ออกมาให้ข่าวว่าจะอนุญาตให้ก่อสร้างตัวอู่ตะเภาภายในช่วงครึ่งปีแรก โดยที่ยังไม่ต้องรอตัวรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน

ตรงนี้ก็จะปลดล็อกในเรื่องของการที่เราจะต้องรอรถไฟฟ้า 3 สนามบินก่อนหรือไม่ สามารถที่จะได้ NTP ในช่วงครึ่งปีแรก ตามที่ทางเลขาธิการ EEC ได้ให้ข่าวมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์

Update โครงการสายสีชมพูส่วนต่อขยาย

หลายท่านอาจจะเห็นในข่าวบ้างว่าสายสีชมพูต่อขยายใกล้จะเปิดแล้ว 2 สถานี ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Overall เกือบ 90% แล้ว Civil Work ไปที่ 91% และ M&E อยู่ที่ 87%

สายสีชมพู เราคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่ม ridership ให้กับสายสีชมพูอีกประมาณ 14,000 เที่ยวต่อคนต่อวัน สามารถที่จะช่วยในเรื่องของการเดินทางให้กับผู้โดยสารในการที่จะไปดูคอนเสิร์ตในเมืองทองธานี ตอนนี้ก็จะสะดวกขึ้น

สายสีชมพูหลังจากที่แล้วเสร็จ จะเปิดบริการให้นั่งฟรีก่อน เฉพาะส่วนต่อขยาย 1 เดือน หลังจากนั้นครบ 1 เดือนถึงจะเริ่มเก็บค่าบริการ

Backlog ของบริษัท

หลังจากที่หักรายได้ก่อสร้างไปแล้ว เหลือ Backlog สิ้นปีอยู่ที่จำนวน 116,102 ล้านบาท สามารถกลับมายืน 1 แสนล้านได้ ถ้าดูตาม Historical ปี 2024 Backlog เราสูงที่สุดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา

หลักๆ เราได้โครงการใหญ่ๆ เข้ามาช่วงสิ้นปี ไม่ว่าจะเป็น Bangkok Mall 5,800 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ที่ทำเป็น Joint Venture กับทางช การช่าง เราได้มาในจำนวนมูลค่า 26,996 ล้านบาท และสุดท้าย Solar 7 โรง มูลค่า 6,512 บาท ซึ่งรวมแล้วคือ 40,811 ล้านบาท ทำให้ Backlog เรากลับมายืนที่ 1 แสนล้านทันที

ยังไม่รวมโครงการอื่นๆ ที่มีอยู่อีก ทำให้สุดท้ายแล้ว Backlog เราจบอยู่ที่สิ้นปี 116,102 ล้านบาท

Breakdown ของ Backlog กับ Revenue

  • ฝั่งซ้ายมือ Breakdown ในส่วนของลูกค้า เอกชน (Private) อยู่ที่ Backlog 68% Public 32% ถ้าเป็นในส่วนของรายได้ ก็มาเหมือนกันก็คือจาก Private 73% จากภาครัฐ 27%
  • ฝั่งขวามือ Breakdown ในแต่ละส่วนของงาน ถ้า 55% มาจาก Infrastructure ถัดมารองมาจะเป็นจากรถไฟฟ้า 23% และงานอาคาร 11%
  • ถ้าดูในภาพของรายได้ รายได้หลักๆ มาจากโรงไฟฟ้า 36% รองลงมาจะเป็น Infrastructure และงานอาคาร

Profit and Loss

รายได้ถ้ามองในภาพปี อยู่ที่ ถ้ารวมรายได้ค่าเช่าแล้ว อยู่ที่ 30,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 1.4% แต่ถ้าเป็นในภาพของ Quarter จะอยู่ที่ 7,714 ล้านบาท ลดลง 4.2% ใน Q3 ทำได้อยู่ประมาณ 7,349 ล้านบาท แต่ถ้ามองเป็นภาพ Q เราโตขึ้น QQ Gross Profit เราติดลบ เพราะว่ามันมี Cost ที่ Book เข้ามา 2 Item ด้วยกัน ซึ่งเป็น Unexpected กับ One Time ในแต่ละ Item Unexpected Item เป็นการปรับปรุงโครงสร้างของโครงการ MRT สายสีเหลืองและสีชมพู เพื่อยกระดับความปลอดภัย และเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและบำรุงรักษาโครงการ อันนี้เป็น Unexpected Item ที่ Book เข้าไปในตัว Cost of Construction

อีก Item หนึ่งจะเป็น One Time คือการเพิ่มต้นทุนการส่วนการซ่อมโครงการบึงหนองบอน หลังจากที่ประเมินแล้วว่าโครงการจะต้องใช้การซ่อมอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ ฉะนั้นมันเป็นการเพิ่มต้นทุนการซ่อมโครงการนี้ ก็เป็นต้นทุนส่วนเพิ่ม ถือว่าเป็น One Time ทำให้ Cost มันเพิ่มขึ้น สุดท้ายแล้ว Gross Profit Margin ก็จะติดลบอยู่ที่ประมาณ 119 ล้านบาท

หากไม่มี 2 Item นี้ Gross Profit จริงๆ มันเด้งไปที่ 2,082 ล้านบาท

ถ้ามองในภาพปี เอ้ย โทษทีถ้ามองในภาพ Quarter Gross Profit ก็ติดลบอยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท

พอเป็น Net Profit ในภาพปีก็ขาดทุนอยู่ที่ 2,388 ล้านบาท อย่างที่แจ้งไปถ้าเราเอา 2 Item นั้นออก รวมถึงตัว Share of Loss จากสายสีชมพูเหลืองที่อยู่ในตรง บรรทัดของ Equity ออกไปด้วย เราจะมีกำไรกลับมาอยู่ที่ทั้งปี 1,424 ล้านบาท ในส่วนของ Net Profit ถ้ามองในภาพปี ตัวตอนแรกเราจะขาดทุน 2,280 ล้านบาท แต่เหมือนกันครับถ้าเราเอา 3 Item นี้ออกไป เราก็จะ ขาดทุน ยัง ยังขาดทุนอยู่ที่ 2,158 ล้านบาท โทษทีครับ

มาดู Cost อย่างที่บอกไป Cost ปี 2024 เรา Book Item ที่เป็น Item พิเศษ 2 Item ทำให้ Cost of Construction เราค่อนข้างสูง อยู่ที่ 31,23.4 ล้านบาท แต่ว่าหลังถ้าเกิดเราเอา 2 ตัวนี้ออกไปจริงๆ แล้ว Cost of Construction เราอยู่ที่ 27,923 ล้านบาท ซึ่งจริงๆ แล้วอันนี้เป็น Normal Cost ของเรา ถ้าไม่มีตัว Item พิเศษต่างๆ ที่บอกไป

มาดู SGA ภาพปีอยู่ที่ 846 ล้านบาท ก็ยังถือว่าไม่ได้สูงมาก สูงขึ้นแค่ 1.4% และ SGA to Sale 2.8% เท่านั้น ก็ยังถือว่าทำในระดับที่ใกล้เคียงกัน ถ้ามองในภาพ Quarter อยู่ที่ 171.3 ลดลง 41.3% ถือว่าเราควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี เป็น SGA to Sale ที่คิดเป็นแค่ 0 2.2% ฉะนั้นทำให้ภาพปีทั้งหมดมันเลย สูงขึ้นไม่เยอะอยู่ที่ 846 ล้านบาท

มาดูกำไรขั้นต้น (Gross profit) กับกำไรสุทธิ (Net profit Margin) ถ้าปกติ ตัว Gross Profit จะติดลบที่ 0.4% Net Margin ติดลบที่ 7.9% แต่อย่างที่แจ้งไป ถ้าเราดึงตัวทั้ง Unexpected ทั้งของ MRT ชมพูเหลือง และ One Time ของบึงหนองบอนออก แล้วก็ 2 ซึ่ง 2 ตัวนี้มันจะทำให้ Net Profit กับ Net Profit Margin ของเรากลับมาอยู่ที่ 6.9% กับ 4.7%

ในส่วนของ ROE Equity อยู่ที่ 17,843 ล้านบาท ลดลงเพราะว่าเรามีผลขาดทุน ส่วน ROE ก็ติดลบ 13.4% แต่ว่าถ้าเราดึง Item ต่างๆ ออกตัว ROE ก็จะกลับมาที่ 4% จะกลับไปเป็น Normal อยู่ที่ประมาณ 4% ในส่วนของ Leverage Ratio ในปี 2024 จะสูงขึ้น เพราะว่าเรามีการกู้ยืมที่มากขึ้น

มันสูงขึ้นซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าเราต้องมีการกู้ยืมเพื่อที่จะมาเตรียมในการลงทุนในอนาคต ในกับในธุรกิจใหม่ๆ

Balance Sheet จะเห็นได้ว่า Short Term Loan ในส่วนของ Liability อยู่ที่ 6574 สูงขึ้น แต่ DE เรายังอยู่ในระดับที่ต่ำ 189 ล้านบาท และ Finance Cost เองถึงแม้ว่าทั้งปีจะอยู่ประมาณสัก 150 กว่าล้าน แต่ว่าก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำเทียบกับ ในกลุ่ม Peer อุตสาหกรรม

ESG Activity ที่เราทำในปี 2024

  • ถ้าเป็น Environment โครงการหลักเราก็จะมีในเรื่องของการแลกกระดาษเก่าไปสู่ O Paper for New Paper ซึ่งอันนี้ก็ได้ แลกกระดาษไปแล้วประมาณสัก 47,000 กิโลกรัม เท่ากับ Equivalent กับตัว คาร์บอนไดออกไซด์ประมาณสัก 33 ตัน
  • ในส่วนของ Society เราก็มีโครงการที่เราทำอยู่ตลอดเวลาคือ ตึก ชาญวิริยะกูล อันนี้ก็เป็นที่ที่ 72 แล้ว อันนี้ทำที่จังหวัดอุดรธานี ตัวโครงการนี้เราคิดออกมาเป็นค่าของ ESG เราได้เป็นการลด Greenhouse Gas Emission ใน Scope ที่ 3 Category ที่ 1 ลดลงได้ถือว่า 14 ตัน เทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
  • ในส่วนของ Governance เราปีที่ผ่านมาเราด้วยการที่ปรับโครงสร้าง เราก็มีบอร์ดท่านใหม่เข้ามาด้วย ฉะนั้นก็มีการ Training บอร์ด ก็ถือว่าเป็น เป็นการให้ความ ให้ความรู้กับบอร์ดท่านใหม่ๆ เพื่อความ โปร่งใส ในการที่การกำกับดูแล ก็เป็น Governance ใน มิติของของการกำกับดูแล

ผลของรางวัลที่ได้รับ

  • เราได้ตัว Set ESG Rating ก็เป็น Double A
  • CG Score ก็เป็น 5 ดาว
  • รางวัลจากสมาคมนักวิเคราะห์ ที่ได้เป็น Outstanding CEO CFO และ IR ในปี 2024
  • Set Award Outstanding IR 2024 ใน Market Cap 10,000-30,000 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นเป็นข้อพิสูจน์ว่าบริษัทให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูล และการให้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันกับ Stakeholder ก็เป็นรางวัลที่การันตีในในสิ่งเหล่านี้ที่เราที่บริษัทได้ทำอยู่

Business Outlook

ในส่วนของ Opportunity จะมี 13 โครงการที่รัฐบาลบอกว่าจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี ประมาณ 700,000 กว่าล้าน 7.3 แสนล้าน ที่เห็นดาวๆ คือโครงการที่ย่อออกมาทีเป็น Action Plan ว่าเขาจะรีบเอาเข้าภายใน ภายในครึ่งปีแรก คาดว่า จะมีในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง 15,000 ล้านบาท มอเตอร์เวย์ M9 บางขุนเทียน-บางบัวทอง 56,000 ล้านบาท ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง ภูเก็ต ล่าสุดมีข่าวออกมาว่าจะเป็น PPP Gross Cost มี 2 เฟส เฟสแรกน่าจะประมาณสัก 14 กิโลเมตร เสร็จ 17,000 ล้านบาท เนี่ยมันแค่แค่เฟสแรก แต่ว่าเฟส 2 จะเป็นอีกมูลค่าหนึ่ง แล้วก็ตัว N2 ทางด่วน N2 Express Way กระทรวงคมนาคม แล้วก็วงแหวนรอบนอก อันนี้ก็ สุดท้ายแล้วทาง การทางพิเศษปรับการศึกษาใหม่ไม่ทำเป็นเป็นอุโมงค์แล้ว ก็ทำเป็นรูปแบบของ ทางด่วนปกติ คาดว่าจะนำเข้า ครม. ได้ไปในช่วงครึ่งปีแรกนี้ อันนี้เป็น เกี่ยวกับ Opportunity

Target Project ของทาง Stecon จะเห็นว่ามันก็จะล้อไปกับตัว Market Opportunity ไม่ว่าจะเป็น M5 ซึ่ง M5 เนี่ย เขาเข้า ครม. ไปแล้ว ก็เดี๋ยวรอ ตอนนี้น่าจะทำ TOR อยู่ก็รอ รอเปิดประมูล ใน ในน่าจะช่วง กลางปีนี้ ซึ่งเราก็จะ จะเข้าร่วมประมูล M9 M7 M7 เนี่ยประมูลแล้ว เราเข้าประมูลแล้วเรียบร้อย ตอนนี้รอ ประกาศชื่อผู้ชนะ สำหรับ M7 M7 เป็นตัว Extension เอ่อ เข้าอู่ตะเภา ประมาณสัก 1.2 กิโลเมตร M82 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว เป็น Gross Cost O&M ก็คือรับ รับจ้างบำรุงรักษา น่าจะเปิดให้ ประมูลน่าจะปีหน้า แล้วก็ ถ้าทางด่วนเนี่ยก็มี N2 กะทู้-ป่าตอง อย่างที่บอกไป แล้วก็รถไฟฟ้าเนี่ยมีสายสีน้ำตาล สายสีน้ำตาล ก็ล่าสุดมีข่าวว่าน่าจะ เอ่อ เปิดประมูลได้ภายในปีนี้ แล้วก็สายสีแดง แดงเข้มที่บอกไปเมื่อกี๊ว่าจะ เป็น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ธรรมศาสตร์มหาชัย หรือว่าสาลายาหัวหมาก ก็ ก็ น่าจะเข้าสู่ ครม. ภายในปีนี้

ในส่วนของ Target Project เหมือนเดิม จะเป็นในส่วนของรถไฟทางคู่ ที่เรา Target ไว้ ก็จะมีจิระ-อุบล มีปากน้ำโพ-เด่นชัย สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ซึ่ง ซึ่งเรา เรา โฟกัส 3 3 โปรเจคนี้ ท่าอากาศยาน เราเองก็โฟกัสด้วย ไม่ว่าจะ เป็นการขยายตัวสุวรรณภูมิ East Expansion 11,000 ล้านบาท ดอนเมือง การขยายดอนเมือง อยู่ที่ 35,000 ล้านบาท เหมือนกัน แล้วก็สุดท้ายที่เชียงใหม่ อีก 14,000 ซึ่ง ซึ่ง Airport เอง เขาก็มี ออก แผนแม่บทออกมาเพื่อที่จะขยาย ท่าอากาศยานหลัก 3 ท่าอากาศยานนี้ ถ้าเป็นโครงการภาครัฐเนี่ยเราโอกเก็ตไว้เนี่ยประมาณสัก 420,000 ล้านบาท ถัดมาในในโครงการของเอกชนเนี่ยเราก็ สนใจในเรื่องของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 11,800 ล้านบาท แล้วก็มีงานโครงสร้างพื้นฐานด้วย 11,500 ล้านบาท สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องของ อาคารและก็อาคารขนาดใหญ่ประมาณสัก 3,900 ล้านบาท ก็ รวมๆ ทั้งหมดแล้วเนี่ย Target ที่เรา เราโฟกัสเนี่ยประมาณสัก 450,000 ล้านบาท คงจะต้องดูว่ามีโครงการไหนที่ ที่เข้าประมูลหรือว่าเข้า ครม. บ้างซึ่งเราก็จะ จอย ที่จะจอยทุกโครงการ

Business Outlook

  • Target Revenue Construction เรา Set ไว้ ในปีนี้ 2568 อยู่ที่ 32,000 ล้านบาท
  • ในส่วนของธุรกิจใหม่ New Business เนี่ยเรา เราตั้งเป้าไว้ที่ คาดว่าเราจะได้ประมาณสัก 1,000 ล้านบาท

เราก็ยัง Focus ใน ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจใหม่เองก็ยังเพิ่งเริ่ม เราก็ยัง Focus ที่ ก่อสร้างที่จะมีโครงการใหม่ๆ หรือ New Order เข้ามา ในส่วนของ Construction Revenue เราก็คาดว่า ตั้งเป้าไว้ว่าจะโต 5-10% ในส่วนของ GPM ตั้งเป้าปีนี้ 7% สำหรับ Construction GPM Backlog ที่ผ่านมา เราได้ทำตาม เป้า Target ที่เราตั้งเอาไว้ที่ ประกาศไว้ 40,000 ล้าน เราทำได้มากกว่า 40,000 ล้าน 40,000 กว่าล้านเราทำได้ ทำให้ สิ้นปี 2024 Backlog เรากลับมายืน 1 แสนล้านได้ 116 สุดท้ายแล้วเนี่ยเป้าปีนี้นะครับด้วยความ Challenge นะครับเราก็ตั้งเป้าไว้ว่า New Order ปี 2025 เนี่ยเรา เราจะหาโครงการใหม่เนี่ย 50,000 ล้านบาทสำหรับ New Order ในปีนี้

Recurring Income ที่เคยพูดไว้ เราเห็นแล้ว Recurring Income เข้ามาจากโครงการ น้ำ Mars Water Supply Q1 คาดว่าจะเข้ามาใน เพิ่มขึ้นจากโครงการ Motorway จะเป็น M81 ที่จะเปิดในปีนี้น่าจะช่วงสัก ช่วง Q Q4 ซึ่ง Motorway เนี่ยต้องเท้าความก่อนว่า เรา ไป จอย Joint Venture กับทางกลุ่ม BGR นะครับเขาเรียกว่า BGR ก็จะมี BTS มีกัฟ มีราชบุรีแล้วก็มี Stecon 4 4 บริษัท Joint Venture ด้วยกัน แล้วก็ไปรับจ้าง O&M Motorway 2 Project M M81 M6 ซึ่งเราถือสัดส่วนคือ 10% ในในจเจอร์นั้น O&M ก็คือการรับจ้างบำรุงรักษานะครับไม่ ไม่ ไม่ได้ก่อ เขาเรียกว่าอะไร ไม่ ไม่ได้เป็นต้องมารับความเสี่ยงจาก ตัว Traffic หรือรถที่วิ่งมาเข้า ใช้บริการ Motorway ฉะนั้นเนี่ยรายได้ที่รับจ้าง O&M จะเป็น Steady Cat 4 ที่ได้เป็นรายได้ประจำ จะไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของ Traffic ก็อันนี้เป็น เป็นโปรเจคของ Motorway M681

โดยสรุปแล้ว Stecon ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ที่ 32,000 ล้านบาท โดยเน้นการเติบโตในธุรกิจก่อสร้างหลัก ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจน้ำประปาและพลังงานสะอาด บริษัทมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน พร้อมทั้งตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ บริษัทมองหาโอกาสในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าและมอเตอร์เวย์ เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว

ช่วงถาม-ตอบ (Q&A Session): [01:06:21]

มีคำถามจากนักลงทุนเข้ามาดังนี้

โครงการอู่ตะเภาจะเริ่มได้เมื่อไหร่?

อู่ตะเภาเอง ก็น่าจะ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่ง Backlog ที่ Backlog เองที่เรา รวมไว้สำหรับอู่ตะเภาเนี่ยก็ประมาณสัก 27,000 ล้านบาท ซึ่งอันนี้เป็นแค่ Backlog สำหรับ ท่าอากาศยานตัว เทอร์มินัล ซึ่งจริงๆ แล้วเนี่ยมันยังมี มันยังมี Backlog ที่เหลืออีกเยอะ ที่ที่เรายังไม่ได้ ยังไม่ได้รับรู้ ฉะนั้น ความ Potential ที่เราจะได้ Backlog จากโครงการ อู่ตะเภาเนี่ยยังมีอีกสูหลังจากที่โครงการเริ่มไปแล้ว

โครงการใหม่ๆ มีอะไรบ้าง?

โครงการใหม่ๆ อาจจะยัง อาจจะยังตอบได้ in detail เนี่ยไม่ได้ ไม่ได้มาก เอาเป็นว่าก็ ก็ยัง ยังให้เป็นภาพกว้างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการน้ำ ที่ ที่บอกไป หรือว่า จริงๆ แล้วเนี่ย อย่างของ โรงไฟฟ้าเนี่ยเราก็เราก็ดูอยู่ ไม่ว่าจะเป็น to Energy โครงการโรงไฟฟ้าขยะ เราก็เราก็ มีศึกษาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโซล่าหรือวิน จริงๆ เนี่ยตอนเนี้ยมันค่อนข้างที่จะมีดีลค่อนข้างเยอะในในในเข้ามา แต่ว่าก็ยังคงเปิดเผยไม่ได้ ในส่วนของโรงไฟฟ้าเองเนี่ยตอนนี้นะเขากำลังรอพวก ตัว PDP ฉบับใหม่ที่ ที่เขาจะออกประกาศนะครับคงต้องให้ภาครัฐเนี่ยเขาสรุปในเรื่องของอัตราค่าไฟฟ้าให้เรียบร้อยซะก่อน ฉะนั้น PDP ฉบับใหม่ที่คาดว่าน่าจะเน้นตัว โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

บริษัทมีความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ใน Net Profit เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์ครับ?

ให้ ให้เป็นภาพกว้างๆ แล้วกันนะครับว่า จริงๆ แล้วเนี่ย Net Profit Margin ถ้าถ้ามันไม่มี Equity Loss ของของสายสีชมพูเหลืองเนี่ยมัน มันอยู่ประมาณสัก 1-2% ใน Net Profit Margin นะ เพราะว่าจริงๆ แล้วเนี่ยถ้าถ้าคุมค่าใช้จ่ายได้เนี่ยมันอาจจะ อาจจะไม่ ได้ขึ้นเยอะมาก เพราะว่ามันจะต้องผ่านในเรื่องของมี Finance Cost อีก เพราะว่าอย่าง อย่างที่แจ้งไปว่า ช่วงนี้เนี่ย Finance Cost หรือว่าการกู้ยืมของเราเนี่ยมันมันอาจจะต้องมีมีการกู้ยืมมากขึ้นนะครับเพื่อที่จะลงทุนสำหรับธุรกิจใหม่นะครับก็เป็นช่วง Investment Stage

คำถามน่าจะประมาณหนึ่ง วันนี้ก็จะขออนุญาตจบการนำเสนอข้อมูลของบริษัท Stecon Group จำกัด มหาชน ผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ภายในวัน ภายใน วันนี้นะครับก็ขอบคุณท่านนักทุนทุกท่านนะครับที่เข้ามารับฟังข้อมูลนะครับแล้วก็เจอกันครั้งหน้าใน Quarter 1 นะครับประมาณช่วงเดือน พฤษภาคม นะครับขอบคุณครับสวัสดีครับ