บทความ ข่าวสาร กิจกรรม
MPJ โลจิสติกส์ โอกาสในการลงทุนที่น่าจับตามองในธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจร
- MPJ โลจิสติกส์: โอกาสในการลงทุนที่น่าจับตามองในธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจร
ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็น IPO กลุ่มบริษัทโลจิสติกส์ โดยเฉพาะบริษัทที่มีการให้บริการครบวงจรอย่าง บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ที่เปิดดำเนินการมานานกว่า 16 ปี จุดเด่นของ MPJ คือการให้บริการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ การจัดการลานตู้ การจัดหาระวางเรือและเครื่องบินเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ การบริการคลังสินค้าให้เช่า ช่วยลดความยุ่งยากและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
จุดเด่นของบริษัท
หากมองไปที่ในตลาดจะเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการที่มีลักษณะทำธุรกิจประเภท Freight Forwarder เป็นหลัก กล่าวคือ มีความอ่อนไหวต่อค่าระวางค่อนข้างมาก ในขณะที่ MPJ เน้นการให้บริการแบบครบวงจร และมีจุดเด่นสำคัญคือ ธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งที่ผ่านมาและปัจจุบันก็กำลังเติบโตจากความต้องการที่สูงขึ้นในตลาดนำเข้าและส่งออกของไทย
เปิดราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 6 บาท จองซื้อ 28-30 ตุลาคมนี้ พร้อมเข้าเทรด 6 พฤศจิกายน 2567 ก่อนที่เราจะไปดูอัตราส่วนความถูกความแพง ลองไปดูลักษณะธุรกิจกันก่อนว่าทำไม MPJ ถึงดูน่าสนใจ
ธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ MPJDC
ธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการและซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ของสายเรือ มีรายได้จากค่าผ่านลาน ค่ายกตู้ บริหารลานตู้ คอนเทนเนอร์ และ ให้บริการซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ของผู้ให้บริการสายเรือ โดยมีลานตู้คอนเทนเนอร์ 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง แห่งแรกมีพื้นที่ 67,200 ตารางเมตร สำหรับแห่งที่ 2 บริษัทได้เข้าร่วมทุนกับ OOCL Logistics (Hong Kong) Limited ผู้ให้บริการสายเรือระดับโลก OOCL และ COSCO ผ่านบริษัทย่อย MPJDC ในปี 2562 ในการจัดตั้งบริษัท โอเอ็ม ดีโพ จำกัด (OM) ซึ่ง MPJDC ถือหุ้นในสัดส่วน 49% เพื่อการบริหารการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ของกลุ่ม OOCL และ COSCO เป็นหลัก
กล่าวได้ว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำด้านลานตู้อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ธุรกิจนี้เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงสุดของบริษัท โดยสัดส่วนกำไรขั้นต้นของธุรกิจจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในปี 2566 อยู่ที่ 40.88% และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 39.29% บอกถึงการเติบโตที่ดีและความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่ง
ตารางแสดงสัดส่วนรายได้ของธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์
ปี | 2564 | 2565 | 2566 | 6M/2566 | 6M/2567 |
รายได้รวม (ล้านบาท) | 1,014.74 | 1,300.26 | 910.24 | 427.51 | 456.22 |
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) | 208.8 | 235.00 | 195.05 | 83.66 | 98.08 |
สัดส่วนกำไรขั้นต้น (%) | 20.58 | 18.07 | 21.43 | 19.57 | 21.50 |
สัดส่วนรายได้ธุรกิจจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (%) | 21.90 | 19.16 | 31.53 | 30.54 | 32.43 |
สัดส่วนกำไรขั้นต้นจากธุรกิจจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (%) | 36.54 | 30.44 | 40.88 | 33.33 | 39.29 |
MPJDC มีแผนขยายพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ในแถบลาดกระบัง กรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการในปี 2568 ซึ่งการมาของพื้นที่ส่วนต่อขยายนี้จะช่วยเสริมให้อัตราการทำกำไรสูงขึ้นในอนาคต ที่สำคัญมีลูกค้าหลักเป็นสายเรือชั้นนำ และมีการร่วมทุนกับลูกค้าหลักคือกลุ่มของ OOCL Hongkong ซึ่งได้แก่ สายเรือ OOCL และ COSCO ซึ่งเป็นสายเรือขนาดใหญ่
ธุรกิจให้บริการขนส่งทางบก MPJLO
MPJLO ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งที่บรรจุและไม่บรรจุสินค้า เน้นเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและ ICD ลาดกระบัง ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญ ขณะนี้ MPJLO มีรถหัวลาก 221 คัน และหางพ่วง 257 คัน ผู้บริหารเล่าให้ฟังว่า ให้ความสำคัญกับพนักงานโดยวางรากฐานว่าต้องมีรายได้ที่มั่นคงและพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการขนส่งจะเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย เพราะมีการเดินรถมากกว่า 10,000 เที่ยวต่อเดือน
ธุรกิจ Freight Forwarder MPJDC
ธุรกิจนี้เน้นการให้บริการ Freight Forward แก่ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นตัวกลางในการจัดการขนส่งระหว่างเรือหรือเครื่องบิน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ธุรกิจนี้มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 10-15% ของรายได้รวม และสามารถสร้างรายได้ที่น่าประทับใจในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลที่ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก และมีเส้นทางการส่งสินค้ามากสุดคือ เอเชีย คิดเป็นสัดส่วน 81% ที่เหลือเป็น อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ยุโรป แอฟริกาอเมริกาใต้
ธุรกิจคลังสินค้า MPJWD
MPJWD ให้บริการเช่าคลังสินค้าในพื้นที่แหลมฉบังและจังหวัดระยอง เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก ปัจจุบันคลังสินค้าของบริษัทมีพื้นที่รวมกว่า 17,363 ตร.ม. โดยบริษัททำสัญญากับผู้เช่าก่อนจะเริ่มก่อสร้างเพื่อความมั่นคงทางการเงิน
แม้ว่าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจนี้จะต่ำกว่า 10% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น
MPJWD กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อที่ดินและสรรหาลูกค้าที่จังหวัดระยอง โดยการพัฒนานี้จะเป็นแบบ Built-to-Suit เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้า บริษัทจะทำสัญญากับผู้เช่าก่อนเริ่มก่อสร้างเพื่อให้มั่นใจว่ามีลูกค้ารองรับการลงทุน
ภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโต
จากการคาดการณ์ของกระทรวงการคลัง เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะเติบโตที่ร้อยละ 2.3 - 3.3 ได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.2 อันจะส่งผลดีต่อธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างประเทศของ MPJ
นอกจากนี้ การขนส่งคอนเทนเนอร์เส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและ ICD ลาดกระบัง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีปริมาณการขนส่ง 6.43 ล้านตู้ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 6.15 ล้านตู้ หรือร้อยละ 4.86 การเติบโตนี้สะท้อนถึงการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นและการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ
ก้าวสู่อนาคตด้วยพันธมิตรและลูกค้าหลัก
MPJ เสนอขายหุ้นทั้งหมด 53 ล้านหุ้นคิดเป็นร้อยละ 26.46 ของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท เงินเพิ่มทุนบริษัทจะนำไป
- - ปรับโครงสร้างทุนของ MPJWD และการชำระเงินกู้ยืมระหว่างกลุ่มบริษัทและเงินกู้ยืมของสถาบันการเงิน จำนวนเงิน 185,000,000 บาท (Q4/2567)
- - เพื่อชำระเงินกู้ยืมของ MPJLO โดย MPJLO จะนำเงินดังกล่าวไปชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงินของ MPJLO จำนวนเงิน 35,000,000 บาท (Q4/2567)
- - เพื่อชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงินของ MPJWD จำนวนเงิน 150,000,000 บาท (Q4/2567)
- - เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) จำนวนเงิน 20,000,000 บาท (Q1/2568)
- - เพื่อจัดหาซื้อรถหัวลาก หางพ่วงทดแทน จำนวนเงิน 30,000,000 บาท (Q4/2567)
- - เพื่อการปรับปรุงลานตู้ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในลานตู้ จำนวนเงิน 20,000,000 บาท (Q1/2568)
- - เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของ MPJLO ส่วนที่เหลือ (Q4/2567 – Q4/2568) นอกจากนี้ MPJ ยังมีการศึกษาความเป็นได้ที่จะนำเทคโนโลยีหัวลากไฟฟ้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง และส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
- บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด
- บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
จากลักษณะธุรกิจของ MPJ ที่มีรายได้ และ สัดส่วนกำไรที่ดีโดยเฉพาะส่วนของ ธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจุบัน และ ที่มีแผนเปิดพื้นที่บริการเพิ่มเติมในปี 2568 บวกกับแนวโน้มของตลาดโลจิสติกส์ที่ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เงินจากระดมทุนครั้งนี้จึงสามารถต่อยอดธุรกิจเดิมและสร้างโอกาสในการเติบโตได้อย่างมากในอนาคต จากราคา IPO 6 บาทต่อหุ้น คิดเป็น P/E หลัง IPO เท่ากับ 13.65 เท่า ( ใช้กำไร 1 ปีย้อนหลัง ( 1/07/66 – 30/06/67 และ จำนวนหุ้น 200 ล้านหุ้น) ซึ่งถือว่าเป็น P/E ที่ต่ำกว่าความคาดหวังของธุรกิจโลจิสติกส์อยู่หลายเท่า ฉะนั้นมีโอกาสสูงมากที่หลังจาก MPJ เข้าตลาดแล้วจะสามารถเข้ามาสร้างความคาดหวังให้กับนักลทุนเพิ่มขึ้นได้จากแผนการระดมทุนในครั้งนี้
ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
นักลงทุนท่านใดสนใจลองสอบถามไปยังผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่: