https://aio.panphol.com/assets/images/community/404_ZESQF2.png

“CREDIT” หุ้น IPO ธนาคารตัวแรกในรอบ 10 ปี เข้าตลาดวันแรก 9 ก.พ. นี้

ผมจะพาท่านไปรู้จักกับหุ้น IPO ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ CREDIT หุ้น IPO ธนาคารตัวแรกในรอบ 10 ปี ที่เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันแรก วันที่ 9 ก.พ. นี้

ธนาคารไทยเครดิต ยึดมั่นในแนวคิด Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ ประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำพูดให้ดูดี แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนและโมเดลการทำธุรกิจของธนาคารฯ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ~


1. พนักงานปล่อยสินเชื่อหรือเจ้าหน้าที่แนะนำสินเชื่อจะมีการเข้าพบลูกค้าและนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ตรงตามคุณสมบัติและความต้องการของลูกค้า

2. ธนาคารไทยเครดิตให้ความสำคัญอย่างมากกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้มีการจัดทำโครงการ ตังค์โต Know-how เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้ามีความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เพื่อให้สามารถจัดระเบียบวินัยการเงิน เพิ่มโอกาสรอด สร้างอนาคตใหม่  https://www.facebook.com/TangToknowhow 







ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ธนาคารไทยเครดิต (CREDIT) มีการปล่อยสินเชื่อรวมแล้ว 138,435 ล้านบาท  โดยธนาคารไทยเครดิตมีกลุ่มลูกค้าหลัก 2 ส่วน คือ สินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี และสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์

ณ วันที่ 30 กันยายน  2566 สินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี  มีขนาด 67.7% ของสินเชื่อรวม และสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์มีขนาด 15.3% ของสินเชื่อรวม  และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ธนาคารไทยเครดิตมียอดบัญชีเงินกู้สำหรับสินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี (MSME) จำนวน 24,254 บัญชี และสำหรับสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์จำนวน 253,289 บัญชี และมีสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อยจำนวน 267 แห่ง สำนักงานนาโนเครดิตจำนวน 233 แห่งทั่วประเทศไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ในพื้นที่หรือใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (เช่น ตลาดชุมชน) และมีการติดตามชำระแบบรายสัปดาห์ เพื่อรักษาวินัยทางการเงินให้เข้มแข็งต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารไทยเครดิตมีสาขาเงินฝาก 27 สาขา (ณ 30 ก.ย. 66) ส่วนมากตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เปิดรับเงินฝาก

 โดยสินเชื่อบ้าน มีขนาด 15.2% ของสินเชื่อรวม ใกล้เคียงกับสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ นอกจากนี้ ธนาคารไทยเครดิตยังได้รับความเห็นชอบให้ยกระดับจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบและเดินหน้าการให้บริการอย่างเต็มที่ โดยผู้บริหารให้ข้อมูลบนเวทีว่า มีความต้องการในตลาดนี้จำนวนมาก และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น 








ไฮไลต์ ธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ข้อมูลนี้สำคัญมาก ถือเป็นโอกาสสร้างการเติบโตในอนาคต  

  1. สำหรับปี 2565 ธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี สร้าง GDP ประมาณ 35.2% ของประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานถึง 71.8%
  2. มีเพียง 17.5% เท่านั้นที่จดทะเบียนบริษัท
  3. ณ วันที่ 30 กันยายน  2566 ธนาคารไทยเครดิตมีลูกค้าไมโครเอสเอ็มอีอยู่จำนวน 24,254 ราย ในขณะที่ตลาดมีขนาด 3.2 ล้านราย ปี 2558-2565 โตเฉลี่ย 2.1%
  4. 3 ปีที่ผ่านมาสินเชื่อไมโครเอสเอ็มอีของธนาคารไทยเครดิตโตต่อเนื่องถึง 33.5% 
  5. ต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารไทยเครดิตลดลงจาก 49.9% ในปี 63 เหลือ 36.2% สำหรับงวดเก้าเดือนปี 2566 (ข้อมูล ณ 30 ก.ย. 66)  ขึ้นเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีต้นทุนการบริหารต่ำที่สุด
  6. ได้รับเงินทุนในการปล่อยสินเชื่อที่ต้นทุนต่ำมาก ส่งผลให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิมากถึง 8.2% (สำหรับงวด 12 เดือนสิ้นสุด 30 ก.ย. 66) เป็นผู้นำธนาคารในปัจจุบัน
  7. ณ วันที่ 30 กันยายน  2566  ธนาคารไทยเครดิตมี NPL ที่ 4.0% เท่านั้น  โดย NPL ของธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ  ในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 7.4%
  8. NPL สัดส่วนมากกว่า 60% ได้รับการค้ำประกันโดย บสย. ซึ่งหากเป็นหนี้เสีย ทางธนาคารสามารถเคลมเงินคืนได้ในภายหลังอีกด้วย
  9. ณ วันที่ 30 กันยายน  2566  ธนาคารไทยเครดิต ตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้วยคุณภาพอยู่ที่ 165.1%  ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง
  10. รายได้อื่นของธนาคารไทยเครดิตมีเพียงการขายประกันคู่กับสินเชื่อเท่านั้น ไม่มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ

บสย. ให้ภาพคล้ายการซื้อกรมธรรม์ประกันความเสี่ยง ถึงแม้จะร่วงลงมา แต่ก็เอาล่ะก็ยังปลอดภัย ซึ่งโดยปกติวงเงินสูงสุดที่ธนาคารฯ สามารถเรียกร้องได้จาก บสย. อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 ถึง ร้อยละ 40 ของจำนวนเงินกู้ทั้งหมดที่ได้รับการค้ำประกันจาก บสย. ภายใต้โครงการค้ำประกันต่าง ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโครงการค้ำประกัน ณ ขณะนั้น ทั้งนี้ ระยะเวลาในการพิจารณาจนถึงการจ่ายค่าประกันชดเชยจะใช้เวลาโดยรวมประมาณ 30-90 วันนับจากวันที่ธนาคาร ยื่นเรื่องต่อ บสย. (ข้าพเจ้าถูกใจสิ่งนี้) 

เงินทุนที่ได้รับจากการ IPO ครั้งนี้ ทางธนาคารจะนำไปเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ในช่วงปี 2567-2570 ธนาคารไทยเครดิตคาดว่าการพิจารณาจ่ายเงินปันผลจะอยู่ในช่วงอัตราประมาณ 5% - 20% ของกำไรสุทธิ ชัดเจนแบบนี้ก็สบายใจได้ เตรียมใส่เกียร์ลุยเต็มที่แน่นอน

นอกจากนี้ กำไรของธนาคารไทยเครดิตเติบโตตามสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการรักษาระดับ NPL ไว้ได้อย่างดีต่อเนื่อง พร้อมการตั้งสำรองในระดับสูงบวกกับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ส่งผลให้ 3 ปีที่ผ่านมา (2563-2565) กำไรโตเฉลี่ยสะสมมากกว่า 30% ต่อปี โดย 9 เดือนแรกปี 2566 มีกำไรรวม 2,817 ล้านบาท คิดเร็วๆ เอา 3 หาร กำไรเฉลี่ยไตรมาสละ 939 ล้านบาท บวก 2,817 ทั้งปีคาดไว้ประมาณ 3,756 ล้านบาท จำนวนหุ้นรวมขายได้หมด 1,229 หุ้น กำไรต่อหุ้น 3.05 บาทต่อหุ้น P/E ที่ราคา 29 บาท เท่ากับ 9.5 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยธนาคารในปัจจุบัน

สำหรับมูลค่าตามบัญชีของธนาคารฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ซึ่งเท่ากับ 16,807.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/B) ภายหลังการเสนอขายหุ้นประมาณ 2.05 – 2.12 เท่า ซึ่งต่ำกว่าธุรกิจการให้สินเชื่อ (MTC SAWAD และ TIDLOR) ซึ่งมี P/B เท่ากับ 2.23 - 2.66 เท่า (หมายเหตุ: บนสมมติฐานว่ามีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งหมดจำนวน 64,705,890 หุ้น)

แหม! กดสูตรดูแล้ว IPO ราคานี้ สัก P/E 12 เท่า เทียบกับ คาดเติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 3 ปี ก็หรูหราน่ารักน่าเอ็นดู ยังมีของแถมอีกหลายรายการโดยเฉพาะเรื่อง Environment, Social และ Governance  (ESG) ที่ธนาคารไทยเครดิตทำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานหลายปีจนเป็นที่รักของคนในชุมชน ปัจจุบันมีผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investor ที่ต้องการจองซื้อเข้ามาทั้งในและต่างประเทศรวมกันกว่า 140.352 ล้านหุ้น คิดเป็น 40% ของ IPO ทั้งหมด ของดีมีน้อยครับ  ติดต่อสอบถามจองซื้อจากโบรกเกอร์ของท่านได้เลย

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และโปรดอ่านหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุปสาระสำคัญของหลักทรัพย์ (Executive Summary) อย่างรอบคอบ



SBI Thai Online https://www.sbito.co.th




ความโดดเด่น 


  1. ธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ (Micro and Nano Finance) และสินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME)
  2. แก่กลุ่มลูกค้าในประเทศไทยและธุรกิจที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้เท่าที่ควรตั้งแต่ปี 2556
  3. ต้นทุนการดำเนินการต่อสาขาในระดับต่ำและการให้บริการแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพ


การเติบโตอย่างรวดเร็ว


  1. เงินให้สินเชื่อ และกำไรต่อปีก่อนหักภาษี CAGR 2563- 2565 มากกว่า 30%
  2. ตลาดสินเชื่อที่มีความต้องการสูง และยังสามารถขยายส่วนแบ่งการตลาดได้


ความสามารถในการทำกำไร

  1. ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) > 8% (สำหรับปี 2563 และสำหรับ 12 เดือนย้อนหลังนับถึงวันที่ 30 กันยายน 2566)
  2. อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม (CIR) ประมาณ 36% (สำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566)
  3. อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) > 20% (สำหรับ 12 เดือนย้อนหลัง นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2566)

การบริหารความเสี่ยงที่ออกแบบเพื่อกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง

  1. เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพที่ได้รับการค้ำประกันโดย บสย. ประมาณ 62.4% (ณ 30 ก.ย. 66)
  2. NPL Coverage 165% (ณ 30 ก.ย. 66)
  3. การจัดการความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีการปรับใช้ตลอดกระบวนการขององค์กร
  4. 
    

    

โพสต์ล่าสุด
บทความ
4 วันที่แล้ว 08:52 น.
15 อันดับหุ้น ESG SCORE #วายุภักษ์ จัดให้
บทความ
29 พ.ย. 66 11:22 น.
PTG - OPPDAY Q3/66 ปี 67 ยัง All time High